วันศุกร์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2559

การบันทึกครั้งที่ 8

 วันพุธที่ 2 มีนาคม พ.ศ.2559
**ศึกษาดูงานที่โรงเรียนอนุบาลพิบูลเวศม์**
การจัดสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์




  • การจัดการเรียนการสอนแบบโครงการ Project Approach
จัดประสบการณ์ตามความสนใจของเด็กเป็นการสืบค้นหาข้อมูลอย่างลึกตามหัวเรื่องที่เด็กสนใจส่งเสริมให้เด็กแสวงหาคำตอบจากการเรียนเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างลุ่มลึกเพื่อสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง โดยที่เด็กหรือครูร่วมกันกำหนดเรื่องที่ต้องการเรียนรู้ แล้วดำเนินการแสวงหาความรู้ด้วยกระบวนการแก้ปัญหา โดยครูเป็นผู้อำนวยความสะดวกให้เด็กเรียนรู้จากประสบการณ์ตรงและแหล่งเรียนรู้
  • วิธีจัดการเรียนการสอนมี 4 ระยะ คือ
  • ระยะที่ 1 เริ่มต้นโครงการ เด็กจะร่วมกันคิดเรื่องที่สนใจ
  • ระยะที่ 2 ระยะวางแผนโครงการ เป็นช่วงเวลาที่กำหนดจุดประสงค์ว่าต้องการเรียนรู้อะไร กำหนดขอบเขตเนื้อหา ระยะเวลาและวิธีการศึกษา
  • ระยะที่ 3 ดำเนินโครงการตามที่กำหนดไว้ ที่เน้นระบวนการแก้ปัญหา จัดเป็นหัวใจของการสอนแบบโครงการ เพราะเด็กจะได้รับข้อมูลใหม่จากประสบการณ์ตรงหรือเป็นแหล่งข้อมูลพื้นฐานเพราะเด็กได้สนทนา พูดคุยกับบุคคล และสืบค้นจากแหล่งเรียนรู้ ขณะเดียวกันเด็กสามารถค้นความรู้จากแหล่งข้อมูลรอง (Secondary Sources) เช่น การดูวีดีทัศน์ การอ่านหนังสือ เป็นต้น
  • ระยะที่ 4 สรุปโครงการ ครูและเด็กร่วมวางแผนสรุปโครงการ เป็นขั้นตอนการประเมินโครงการ ทบทวนการปฏิบัติ และวางแผนโครงการใหม่ วิธีการสรุปโครงการอาจจะให้เด็กนำผลงานที่ได้รับมอบหมายมาแสดงต่อครูแล้วอภิปรายประเด็นปัญหา หรือให้เด็กนำเสนอผลงาน ในรูปของการจัดแสดง จัดเป็นนิทรรศการ หรือสาธิตผลงาน
  • มีกิจกรรมหลักในโครงการ 4 กิจกรรมคือ กิจกรรมสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในชั้นเรียน กิจกรรมทัศนศึกษา กิจกรรมสืบค้น และกิจกรรมนำเสนอผลงาน
  • กิจกรรมสืบค้นมีหลากหลายได้แก่ การรวบรวมข้อมูลที่ได้จากการสังเกต การสัมภาษณ์ การปฏิบัติทดลอง การรวบรวมเอกสาร การรายงาน การจัดแสดงผลงานที่ได้จากโครงการ เป็นต้น
  • เรื่องที่จะเรียนมาจากความสนใจของเด็กที่ต้องการเรียนอย่างลุ่มลึก เด็กจึงเป็นผู้วางแผนและร่วมคิด ร่วมมือสืบค้นกับผู้อื่น ครูเป็นผู้สนับสนุน สังเกตและอำนวยความสะดวก หากเรื่องนั้นมีความเป็นไปได้ มีแหล่งข้อมูลเพียงพอ พ่อแม่และชุมชนมีความพร้อมที่จะร่วมมือ
  • ทักษะการเรียนรู้หนังสือจำนวน ให้บูรณาการในหัวเรื่องโครงการ รวมทั้งวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และภาษา ดังนั้น หัวเรื่องหนึ่งที่เด็กสนใจเรียนรู้นั้นต้องมีเวลาอย่างน้อย 1 สัปดาห์และควรสำรวจที่โรงเรียนเหมาะกว่าที่บ้าน




    • จัดกิจกรรมตามสาระและมาตรฐานการเรียนรู้
    สาระที่ 1 จำนวนละการดำเนินการ
    สาระที่ 2 การวัด
    สาระที่ 3 เรขาคณิต
    สาระที่ 4 พีชคณิต
    สาระที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
    สาระที่ 6 ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์

  • การนำมาประยุกต์ใช้

    • สามารถนำไปใช้ในการจัดกิจกรรมต่างๆได้
    • สามารถนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน 
    • สามารถนำไปใช้ในการจัดประสบการณ์ที่เหมาะสมให้แก่เด็ก
    • เข้าใจหลักการของการจัดสภาพแวดล้อมภายในห้องเรียน
    • สามารถใช้สิ่งของรอบตัวมาจัดประสบการณ์สื่อการเรียนรู้ได้










ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น